เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM 2.5 




GP0STRJWM_Web_size

ฝุ่น PM2.5 เป็นมลพิษทางอากาศอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ต้องเผชิญทุกปี คนไทยได้รับความเดือดร้อนทางสุขภาพทั้งแบบฉับพลัน แสบตา คัดจมูก ภูมิแพ้กำเริบ และแบบระเบิดเวลา เป็นภัยเงียบของโรคต่าง ๆ ที่จะตามมาในภายภาคหน้า เช่น โรคหอบหืด โรคเบาหวาน มะเร็งปอด ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะซึมเศร้า 

จากข้อมูลของ State of Global Air ระบุว่า PM 2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย แม้กระทั่งเด็กแรกเกิดก็ยังได้รับผลกระทบทำให้มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขโดยที่เด็ก คนสูงวัย และประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบมากที่สุด 

นอกจากนี้ คนไทยยังต้องจ่ายค่าเสียโอกาสด้านสุขภาพ (ค่ารักษาพยาบาล ค่าหน้ากากอนามัย เครื่องฟอกอากาศ) ไปกว่า 2,000 - 3,000 ล้านบาท (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2563) และอาจต้องจัดเตรียมเงินสำหรับค่ารักษาพยาบาลโรคที่เกี่ยวข้องในอนาคตสูงถึง 200,000 บาทต่อคนต่อปี

เราจึงเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 โดย

  1. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต้องปรับค่ามาตรฐาน PM2.5 ที่เข้มงวดขึ้น โดยคำนึงถึงสุขภาพประชาชนเป็นหลัก

ข้อมูลการวิจัยจากทั่วโลกเกี่ยวกับผลกระทบของ PM2.5 ทำให้พบว่าค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศของประเทศไทยเดิมยังไม่เพียงพอต่อการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองได้ 

ทั้ง ๆ ที่มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเรื่องการปรับค่ามาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป เป็น 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรสำหรับค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรสำหรับค่าเฉลี่ยรายปี แต่รัฐยังคงชะลอการประกาศแก้ไขค่ามาตรฐาน PM2.5 ใหม่ โดยแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านฝุ่นละออง” ปี 2562 ที่มีระบุว่าจะมีการปรับแก้ไขค่ามาตรฐาน PM2.5 เฉลี่ยรายปีภายในปี 2564 และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงภายในปี 2567 นั้นล่าช้าและไม่ทันกับสถานการณ์ความรุนแรงของปัญหา

  1. กระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการกำหนดค่ามาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมและกิจการประเภทอื่น ๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิด PM2.5 ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

ปัจจุบันมีการกำหนดค่าฝุ่นละอองที่ระบายออกจากโรงงาน ซึ่งเป็นการกำหนดค่าการระบายของฝุ่นละอองที่ขนาดตั้งแต่ 100 ไมครอน ไปจนถึงขนาดที่เล็กที่สุดรวมกัน หรือที่เรียกกันว่า ฝุ่นรวม (Total Suspended Particulate; TSP) ซึ่งไม่สามารถแสดงถึงปริมาณ PM2.5 ที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพร่างกายร้ายแรงกว่าฝุ่นละอองประเภทอื่น

ดังนั้น เพื่อทำให้การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนด และเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านฝุ่นละออง” ปี 2562 กล่าวไว้ หน่วยงานรัฐจะต้องประกาศการค่ามาตรฐานปลายปล่องของ PM2.5 เพื่อเป็นการจำกัดการปล่อยฝุ่นละอองชนิดที่อันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด

  1. กระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register) และเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณะ

ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) กำหนดให้โรงงานที่มีสารมลพิษหรือสารเคมีตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ต้องจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ แต่ยังไม่มีการประกาศรายชื่อสารมลพิษหรือสารเคมีที่ต้องจัดทำรายงานดังกล่าว

การจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register)  ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้านฝุ่นละออง” ปี 2562 จะช่วยให้หน่วยงานรัฐสามารถประเมินปริมาณสารพิษ (รวมถึง PM2.5) ที่ถูกปล่อยสู่บรรยากาศได้อย่างแม่นยำ ดำเนินนโยบายในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงภาคประชาสังคมและประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อมีส่วนร่วมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ 

หากภาครัฐยังคงเพิกเฉยต่อการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทย เสียงของคุณจะเป็นหนึ่งพลังในการสนับสนุนเพื่อฟ้องร้องหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อให้แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5  อย่างเป็นรูปธรรม หยุดละเมิดสิทธิตามฤดูกาล คืนอากาศสะอาดอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานให้ทุกคน 

#RightToCleanAir #ขออากาศดีคืนมา




  

คน ร่วมลงชื่อแล้ว

เหลืออีก คน สู่เป้าหมาย

ร่วมลงชื่อที่นี่

1

ขอขอบคุณ คุณ

สำหรับการร่วมผลักดันในครั้งนี้

เราจะไม่ทำให้การเรียกร้องครั้งนี้ต้องสูญเปล่า!

2

แชร์เรื่องราวนี้กับเพื่อนของคุณ

การสนับสนุนของทุกคนทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้

3

มีส่วนร่วมกับเรา

ไม่ว่าจะเป็นการลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อโลกของเรา ทั้งการลงชื่อสนับสนุนงานรณรงค์ หรือร่วมเป็นอาสาสมัครร่วมกิจกรรมปกป้องสิ่งแวดล้อม พลังของเราก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างโลกที่น่าอยู่ ยั่งยืนและปลอดภัยได้ดังที่เราต้องการ

โลกร้อน
ร่วมกับเรา

ร่วมผลักดันงานรณรงค์

ร่วมลงชื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เสียง 1 เสียงของเราคือความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงให้สิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น

พลาสติก
ร่วมกับเรา

อาสาสมัคร

โลกที่เปราะบางใบนี้ต้องการกระบอกเสียง ต้องการการแก้ไข ต้องการการเปลี่ยนแปลง โลกใบนี้ต้องการคุณ

บริจาค
ร่วมกับเรา

ร่วมผลักดันงานรณรงค์

กรีนพีซถูกขับเคลื่อนโดยคนเช่นคุณ การร่วมบริจาคเงินในวันนี้ของคุณ จะกลายเป็นพลังผลักดันในการเปิดเผยข้อมูลการทำลายสภาวะสิ่งแวดล้อมโดยไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงปัญหา และวิธีการที่จะหยุดยั้งวิกฤติดังกล่าว