‘เราทุกคนคือเพื่อนกัน’

ส่งกำลังใจให้ชุมชนกะเบอะดิน คัดค้านโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย

“กะเบอะดิน” หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ มีความเชื่อ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่งดงามในรูปแบบของตัวเอง ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเข้มข้น แต่ทุกชีวิต และทุกสิ่งกำลังจะเปลี่ยนไป เพราะการมาของ “โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย”

ร่วมส่งกำลังใจให้พี่น้องชุมชนกะเบอะดิน กับการฟ้องคดีปกครอง

ในวันที่ 4 เมษายน 2565 พี่น้องชาวกะเบอะดินเข้ายื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้มีการพิจารณาเพิกถอนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อยที่จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต อัตลักษณ์ และอาจละเมิดสิทธิมนุษยชน

ชุมชนกะเบอะดินต่อสู้คัดค้านโครงการเหมืองถ่านหิน โดยตั้งข้อสงสัยถึงขั้นตอนการทำงานของเจ้าของโครงการและบริษัทที่ปรึกษา ทั้งในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของโครงการ รายชื่อของสมาชิกในชุมชนที่ยินยอมให้ทำเหมืองถ่านหินไม่ตรงกับลายเซ็นในเอกสาร ส่วนหนึ่งเป็นรายชื่อของผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในกรณีของหมู่บ้านกะเบอะดินซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวปกากะญอ บางคนไม่สามารถพูดหรือเขียนภาษาไทยได้ แต่มีรายชื่อเซ็นยอมรับโครงการในรายงาน EIA นอกจากนี้ยังมีข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียวิถีชีวิต อัตลักษณ์ รวมถึงทรัพยากรชุมชนสำหรับการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อม หากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้น

ต่อมาในวันที่ 23 กันยายน 2565 ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย ทำให้ระหว่างนี้จะไม่มีการดำเนินการใดๆเกิดขึ้นจากบริษัทและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ส่งกำลังใจให้พี่น้องชุมชนกะเบอะดิน คัดค้านโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย

มีผู้ร่วมส่งกำลังใจแล้ว

อีก แรงสนับสนุนเพื่อให้ถึงเป้าหมาย


06.water-manager
15.Banner

วาทกรรมที่กล่าวไว้ในกรอบกว้าง ๆ อย่าง “เพื่อการพัฒนาประเทศ” มักถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับโครงการขนาดใหญ่ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของพื้นที่ชนบท สำหรับพื้นที่อมก๋อยนั้นไม่ได้เป็นแค่พื้นที่ชนบทนอกเมืองศูนย์กลาง แต่ยังเป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยงโปว์ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเป็นคนชายขอบทั้งในเชิงกายภาพและทางสังคม ไม่ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงจากรัฐไทย ซึ่งสิทธิหนึ่งในที่เราจะกล่าวถึงนี้ก็คือสิทธิในการมีส่วนร่วมตัดสินใจต่อการเข้ามาของโครงการขนาดใหญ่ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบ หรือแม้แต่การรับรู้ถึงข้อมูลผลกระทบที่แท้จริงต่อบ้านและชีวิตของตน โดยมีอุปสรรคที่ทับซ้อนกันอยู่ คือ การปิดกั้นข้อมูลของกระบวนการทั้งจากรัฐและเอกชนเจ้าของโครงการ และอุปสรรคที่ใหญ่หลวงอย่างภาษา

คำถามจากชุมชนถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง

  • ทิศทางสิทธิชุมชนท้องถิ่นที่ไม่ได้อยู่ในตัวกฎหมายของรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรในอนาคต เพราะเราเห็นอยู่ว่าศาลรัฐธรรมนูญที่บรรจุสิทธิมนุษยชนท้องถิ่นในกฎหมายไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงนานแล้ว
  • การพัฒนาความมั่นคงในการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นเรื่องของใครกันแน่? เป็นพลังงานทางเลือกหรือพลังงานที่ถูกบังคับให้เลือก
  • อำนาจในการกำหนดชีวิตและอนาคตของผู้คนในสังคมอยู่ตรงไหน? ในสังคมการเมืองที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย แต่จริงๆ แล้วคือเผด็จการนิยม 
  • โลกหลังวิกฤตโควิด-19 จะเป็นยังไงต่อ ภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น แต่เรายังคงเห็นการผลักดันอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะไปจบที่ตรงไหน?
  • อำนาจที่จะบอกว่าคนในชุมชนต้องการหรือไม่ต้องการอะไร ควรอยู่ที่ใคร? คนที่อยู่ในพื้นที่จริงๆ หรือคนที่อยู่ข้างนอก
03.tomato-basket-farmer
Tomato-in-the-basket

จุดแสงสว่างกลางหุบเขา กะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์

Kabuedin-CHIA-Final-version-cover

เครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Imapact Assesment : CHIA)

ศักยภาพสำคัญของคนกะเบอะดินในการลงแรงร่วมกันสร้างเครื่องมือการประเมินผลกระทบโดยชุมชนที่ประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (Community Health Impact Assessment: CHIA) ตามประกาศของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นในการค้นหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สรุปประเด็นสำคัญอย่างรอบด้านบนฐานของความรู้ในหลายมิติ โดยเฉพาะการเคารพต่อองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น (traditional knowledge/local knowledge) ที่ยึดโยงแนบแน่นกับระบบนิเวศของตัวเองมาอย่างยาวนาน

1

ขอบคุณ คุณ  ที่ร่วมส่งพลัง กำลังใจ

ให้กับพี่น้องชาวกะเบอะดิน

เราจะส่งข้อความของคุณให้ไปถึงพี่น้องชุมชนกะเบอะดินอย่างแน่นอน

2

แชร์เรื่องราวนี้กับเพื่อนของคุณ

คุณสามารถชวนเพื่อนมาให้กำลังใจชุมชนร่วมกันง่ายๆเพียงแค่แชร์หน้านี้ผ่านโซเชียลมีเดีย

3

มีส่วนร่วมกับเรา

ไม่ว่าจะเป็นการลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อโลกของเรา ทั้งการลงชื่อสนับสนุนงานรณรงค์ หรือร่วมเป็นอาสาสมัครร่วมกิจกรรมปกป้องสิ่งแวดล้อม พลังของเราก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างโลกที่น่าอยู่ ยั่งยืนและปลอดภัยได้ดังที่เราต้องการ

ผลักดันงานรณรงค์
ร่วมกับเรา

ลงชื่อรณรงค์

ร่วมลงชื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เสียง 1 เสียงของเราคือความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงให้สิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น

อาสาสมัคร
ร่วมกับเรา

อาสาสมัคร

โลกที่เปราะบางใบนี้ต้องการกระบอกเสียง ต้องการการแก้ไข ต้องการการเปลี่ยนแปลง โลกใบนี้ต้องการคุณ

บริจาค
ร่วมกับเรา

สนับสนุนงานรณรงค์

ร่วมลงชื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เสียง 1 เสียงของเราคือความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงให้สิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น