#คืนปอดให้ประชาชน

นักกิจกรรม กรีนพีซ ประเทศไทย ถือป้ายที่มีข้อความ “อย่าลืม! ปัญหาฝุ่นพิษ” โดยถ่ายภาพคู่กับป้ายโฆษณาเมล็ดข้าวโพด ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

ตลอดทั้งเดือนมีนาคม 2566 จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์ฝุ่นพิษมีความเข้มข้นสูงปกคลุมเหนืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นวิกฤตระดับสูงสุด และส่งผลให้ประชาชนกว่า 2 ล้านคนนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ต้องประสบกับผลกระทบทางสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นพิษในระดับที่เป็นอันตราย โดยมีฝุ่น PM2.5 สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไปต่อเนื่องกันนับสัปดาห์ นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ส่งผลอย่างร้ายแรงและถูกเพิกเฉยจากรัฐบาลมายาวนาน ถึงเวลาแล้วที่ต้องคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับประชาชน


ลงชื่อรณรงค์

  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือ มลพิษข้ามพรมแดน และการสูญเสียป่าไม้เพื่อเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารสัตว์เพราะมีราคาถูกกว่า 

  • อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เติบโตจากความต้องการบริโภคเนื้อที่มากขึ้น ทำให้ต้องอาศัยการปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

  • ภายใต้หมอกควันที่ปรากฎ เกษตรกรมักต้องเป็นจำเลยของสังคม แต่แท้จริงแล้วยังมี ‘ระบบ’ ที่ผลักให้เกษตรกรต้องตกอยู่ในวังวนเกษตรพันธสัญญา
  • ภาครัฐเองก็สนับสนุนให้เกิดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจผ่านระบบเกษตรพันธสัญญา ฯ นี่จึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ที่ ‘โครงสร้าง’ ถึงเวลาที่ภาครัฐจะต้องกำหนดมาตรการทางกฎหมายให้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์มีภาระรับผิด (Accountability) ต่อมลพิษทางอากาศและการทำลายป่า

รายละเอียดข้อเรียกร้อง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรมปศุสัตว์

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

Section-3-1

วิกฤตสภาพภูมิอากาศ

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ยังเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงหนึ่งในสี่ส่วนของของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก เทียบเท่ากับรถยนต์ รถไฟ เรือ และเครื่องบินทั่วโลกรวมกัน เป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ หากเราไม่ลงมือทำอะไรเลย ในปี พ.ศ. 2593 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบอาหารจะเพิ่มเป็นครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์

ข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย พบว่าในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) ภาคการเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 51.88 ล้านตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคิดเป็นร้อยละ 22.60 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศ และเป็นอันดับสองรองจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน โดยก๊าซเรือนกระจกตัวหลักคือก๊าซมีเทนซึ่งมาจากการหมักในระบบย่อยอาหารของสัตว์ การจัดการมูลสัตว์ นาข้าว ดินที่ใช้ในการเกษตรและการเผาเศษวัสดุการเกษตรในที่โล่ง ภาคเกษตรกรรมจึงมีบทบาทสำคัญในยุทธศาสตร์การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยที่ต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อปรับตัวและรับมือกับผลกระทบที่เป็นหายนะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

Section-4-1

ป่าและผืนน้ำไร้ชีวิต

ความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ในราคาที่ถูกและปริมาณมากนั้น คือเบื้องหลังของปัญหาสิ่งแวดล้อมนานับประการ พื้นที่ป่ามหาศาลในทั่วโลกถูกทำลายจนเหี้ยนเตียนเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยวสำหรับอุตสาหกรรม อย่าง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด และถั่วเหลือง ซึ่งเราอาจจะคุ้นตากันบ้างกับภาพภูเขาสีเขียวชอุ่มที่กลายเป็นเขาหัวโล้นจากการถูกแทนที่ด้วยพืชเชิงเดี่ยว ทิ้งความแห้งแล้งไว้ และก่อมลพิษทางอากาศ ดังเช่นที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของหมอกควันพิษที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยช่วงต้นปีเป็นประจำทุกปี

พืชเหล่านี้มักกลายเป็นอาหารสัตว์ราคาถูกในปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมมากถึงร้อยละ 65 ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกมหาศาลกำลังอดอยาก นอกจากนี้ยังมีการใช้สารเคมีต่าง ๆ สำหรับการเพาะปลูก อาทิเช่น ปุ๋ย และสารกำจัดศัตรูพืชนั้น ยังส่งผลให้เกิดเขตมรณะ (Dead Zone) หรือแหล่งน้ำที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ผืนน้ำไร้ชีวิตนี้เกิดขึ้นจากสารประกอบอย่างไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เป็นธาตุอาหารในการบำรุงพืชได้กระตุ้นกระบวนการยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication)โดยดึงเอาออกซิเจนออกจากน้ำจนเหลือศูนย์ สาเหตุของเขตมรณะนั้น ยังรวมถึงจากของเสียมูลสัตว์จากการทำปศุสัตว์ และการเร่งใช้ธาตุอาหารอย่างไม่จำกัด