ร่วมเรียกร้องความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลไทยต้องหยุดฟอกเขียว !

พ่ออุ้มลูกผ่านพื้นที่น้ำท่วมในจ.นครศรีธรรมราช จากพายุโซนร้อนปาบึก (4 มกราคม 2562) ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้างและทำให้ประชาชนหลายพันคนต้องอพยพออกจากบ้านเรือน

ไทยเป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงอาหาร น้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ และการพังทลายของระบบนิเวศที่สนับสนุนคำ้จุนสรรพชีวิต ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมที่ทวีความรุนแรงขึ้น ความยากจน และโรคระบาดในอนาคต

คน ร่วมลงชื่อแล้ว

เหลืออีก คน สู่เป้าหมาย

ปัจจุบัน นโยบายสภาพภูมิอากาศของไทย รวมถึงการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Dertermined Contribution) และยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy : LT-LEDS) หรือ Net Zero ไร้ซึ่งมิติความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ

 

ข้อเรียกร้องของกรีนพีซเพื่อผลักดันให้รัฐบาลไทยกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) มีดังนี้:

  • ใช้กลไกคณะกรรมาธิการรัฐสภาผลักดันประเด็น “วิกฤตสภาพภูมิอากาศ” เป็นวาระหลัก และผนวกข้อเสนอของภาคประชาชนในแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม รวมถึงยอมรับและให้ความสำคัญกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นในการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
  • รัฐบาลมีจุดยืนที่ชัดเจนและหนักแน่นในการการจัดตั้งกองทุนว่าด้วยความสูญเสียและความเสียหาย(Loss and Damage)ให้กับกลุ่มประเทศและชุมชนที่เสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศมากที่สุดเพื่อจัดการกับความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต
  • รับรองว่ามาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ เพื่อฟื้นฟูผลกระทบจากโรคระบาดและ วิกฤตสภาพภูมิอากาศนั้นมุ่งส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน และคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  • ตระหนักว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรลุเป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (systemic change) และกลยุทธ์ที่โปร่งใสเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์อย่างแท้จริง (real zero) เริ่มจากการปลดระวางถ่านหินและปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล การปฏิวัติระบบอาหาร และลดนโยบายสนับสนุนการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม ตลอดจนยุติโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ก่อมลพิษ และเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของแหล่งสำรองเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่
  • ป้องกันการครอบงำของบรรษัทข้ามชาติเหนือสิทธิบัตรพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะทำลายศักยภาพการปรับตัวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรรายย่อย ชุมชนท้องถิ่น ชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์
  • คุ้มครองและสนับสนุนสิทธิชุมชนและประชาชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งที่เป็นรากฐานของเศรษฐกิจแบบเกื้อกูล (supportive economy) และแหล่งความมั่นคงทางอาหารของชุมชนและประเทศ
  • สร้างความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศกับประชาคมโลกในด้านเงินทุน การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การแบ่งปันองค์ความรู้และการสร้างศักยภาพ โดยปฏิเสธแนวทางการชดเชยคาร์บอน (carbon offset) ที่เป็นเรื่องหลอกลวง และเปิดโอกาสให้ประเทศร่ำรวยและบรรษัทอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากวัฏจักรคาร์บอนตาม ธรรมชาติ แย่งยึดที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศให้เป็นสินค้าแสวงผลกำไร แต่หลีกเลี่ยงภาระรับผิดต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ตนก่อขึ้น
1

ขอขอบคุณ คุณ

สำหรับการร่วมผลักดันในครั้งนี้

เราจะไม่ทำให้การเรียกร้องครั้งนี้ต้องสูญเปล่า!

แชร์เรื่องราวนี้กับเพื่อนของคุณ

การสนับสนุนของทุกคนทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้

2

ร่วมแชร์งานรณรงค์นี้

เพื่อให้เพื่อนของคุณได้เห็นงานรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศและร่วมปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยดัน

3

ติดตามงานรณรงค์ของกรีนพีซ

1 เสียงของเราคือความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงให้สิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น

ขออากาศดีคืนมา
มีส่วนร่วมกับเรา

ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

ร่วมบริจาคกรีนพีซ
มีส่วนร่วมกับเรา

สนับสนุนกรีนพีซ

การร่วมบริจาคเงินของคุณ จะกลายเป็นพลังผลักดันในการเปิดเผยข้อมูลการทำลายสภาวะสิ่งแวดล้อมโดยไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงปัญหา และวิธีการที่จะหยุดยั้งวิกฤติดังกล่าว

NoCPTPP-Thumbnail
มีส่วนร่วมกับเรา

#NoCPTPP หยุดทำลายความมั่นคงทางอาหาร

ร่วมส่งเสียงบอกนายกรัฐมนตรี/คณะรัฐมนตรีให้ยุติการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ในทันที